หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่

การบรรยายในวันนี้ ท่านกำหนดให้พูดเรื่องกรรม เรื่องกรรม เป็นหลักธรรมที่สำคัญมากในพระ

พุทธศาสนานอกจากสำคัญแล้ว ก็เป็นหัวข้อ ที่มีคนมักมีความสงสัยเข้าใจกันไม่ชัดเจนในหลายแง่ หลาย

อย่าง บางครั้ง ก็ ทำ ให้นักเผยแผ่พระพุทธศาสนาประสบความยากลำ บากในการที่จะชี้แจง อธิบาย หรือ

ตอบปัญหา ไขข้อสงสัย แนวการอธิบาย เรื่องกรรมการ อธิบายเรื่องกรรมนั้น

โดยทั่วไปมักจะพูดกันเป็น ๒ แนว แนวที่ได้ยินกันมากคือ แนวที่พูดอย่างกว้างๆ เป็นช่วงยาวๆ เช่น

พูดว่า คนนี้ เมื่อสมัยก่อนเคยหักขาไก่ไว้ แล้วต่อมาอีก ๒๐ ถึง ๓๐ ปี โดนรถชนขาหัก ก็บอกว่า เป็นกรรมที่

ไปหักขาไก่ไว้ หรือ คราวหนึ่ง หลายสิบปีแล้วไปเผาป่า ทำ ให้สัตว์ตาย ต่อมา อีกนานทีเดียว อาจจะแก่เฒ่า

แล้วมีเหตุการณ์เป็นอุบัติภัยเกิดขึ้น ไฟไหม้บ้าน แล้วถูกไฟคลอกตาย นี้เป็นการอธิบาย เล่าเรื่อง หรือ

บรรยายเกี่ยวกับกรรมแบบหนึ่ง ซึ่ง มักจะได้ยินกันบ่อยๆ การอธิบายแนวนี้มีความโลดโผน น่าตื่นเต้นน่าสน

ใจ บางทีก็อ่านสนุก เป็นเครื่องจูงใจคนได้ประเภทหนึ่ง แต่คนอีกพวกหนึ่งก็มองไปว่า ไม่เห็นเหตุผลชัดเจน

การไปหักขาไก่ไว้กับ การมาเกิดอุบัติเหตุรถชน ในเวลาต่อมาภายหลังหลายสิบปีนั้น มีเหตุผลเชื่อมโยงกัน

อย่างไร ผู้ที่เล่าก็ไม่อธิบายชี้แจงให้เห็นทำ ให้เขาเกิดความสงสัย คนที่หนักในเรื่องเหตุผล เมื่อไม่สามารถชี้

แจงเหตุปัจจัย เชื่อมโยงให้เขามองเห็นชัดเจน เขาก็ไม่ยอมเชื่อยิ่งสมัยนี้เป็นสมัยที่ถือว่าวิทยาศาสตร์เจริญ

คนต้องพูดจากันให้มีเหตุผล อธิบายให้เห็นจริงเห็นจังได้ว่าเรื่องโน้นกับเรื่องนี้สัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อเราไม่

ชี้แจงเหตุผล เชื่อมโยงให้เขาเห็นเขาก็ไม่ยอมเชื่อ ก็เป็นปัญหาเกิดขึ้น และเราก็ชอบอธิบายกันในแง่นี้ด้วย

เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถน้อมใจ คนจำ นวนมิใช่น้อยที่ถือตนว่าเป็นคนมีเหตุผลหรือ เป็นผู้มี

ลักษณะจิตใจ หรือมีท่าทีแบบวิทยาศาสตร์ การอธิบายแบบที่ ๒ ก็คืออธิบายในแง่ของเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยง

ให้เห็นชัด ซึ่งกลายเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง เป็นเรื่องที่ยากอยู่จะต้องอาศัยการพินิจพิจารณา และการศึกษา

หลักวิชามาก การอธิบายในแนวแยกแยะเหตุผลนี้บางทีเป็นเรื่องที่หาถ้อยคำ มาพูดให้มองเห็นชัดเจนได้ยาก

จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้หรือเราไม่ค่อยมีเวลาที่จะอธิบาย เพราะคนส่วนใหญ่จะมาพบกันในที่ประชุมเพียง

ชั่วเวลา ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ซึ่งจะพูดกันได้ก็แต่เรื่องในขั้นตัว อย่างหยาบๆ มองช่วงไกลๆ เท่านั้น สำ หรับ

เรื่องที่จะพูดกันในวันนี้คิดว่า เราควรจะมาหาทางพิจารณาในแง่วิเคราะห์ หรือแยกแยะความเป็นเหตุ เป็นผล

เท่าที่จะเป็นไปได้ ขอให้ลองมาพิจารณาดูกันว่า จะอธิบายได้อย่างไร

โดย : พระธรรมปิฎก ( ..ปยุตฺโต )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น